กฎ 20% ของความคิดสร้างสรรค์ - ข้อคิดจากกูเกิ้ล

กฎ 20% ของความคิดสร้างสรรค์ข้อคิดจากกูเกิ้ล

ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่คนทำงานสมัยนี้ต้องการมากเป็นพิเศษ เพราะโลกเปลี่ยนแปลงทุกๆ วัน การไม่คิดใหม่ทำใหม่ จะทำให้ตามใครไม่ทัน ซ้ำร้ายอาจทำให้เบื่อหน่ายกับชีวิต เพราะไม่มีอะไรใหม่ๆ ให้ตื่นเต้นเลย

วันนี้ขอแบ่งปันกฎ 20%” ของบริษัทชื่อดังอย่าง Google ที่สนับสนุนให้พนักงานกล้าคิดและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

กฎ 20% คือการสนับสนุนให้พนักงานใช้เวลา 20% ของการทำงานไปลองทำหรือเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่สนใจ

หลักการสำคัญของกฎ 20% นี้ มีอยู่ 5 ข้อ

1.กำหนดสิ่งที่ต้องการทำและเป้าหมายให้ชัดเจนพนักงานต้องระบุสิ่งที่ตนเองสนใจให้ชัดเจน เช่น อยากพัฒนารูปแบบการทำงานใหม่ให้รวดเร็วและมีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม หรืออยากเรียนรู้ทักษะเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม เป็นต้น โดยยังไม่จำเป็นต้องรู้ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นเช่นไร

2. ไม่มีคำว่าล้มเหลว มีแต่คำว่าเรียนรู้เป้าหมายสำคัญของการให้เวลาพนักงานเพื่อคิดค้นหรือเรียนรู้ส่ิงใหม่ๆ ไม่ใช่เพื่อต้องการได้นวัตกรรมที่ล้ำค่า แต่ต้องการให้พนักงานได้มีโอกาสเรียนรู้และใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ดังนั้นแม้ความคิดจะไม่ประสบผลสำเร็จ ก็ไม่ได้แปลว่าล้มเหลว เพราะอย่างน้อยที่สุดพนักงานได้เรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับตนเอง

3. สบายๆ แต่ต้องมีวินัยความยืดหยุ่นเป็นสิ่งดี แต่อะไรที่มากเกินไปก็เป็นโทษได้ บริษัทให้เวลา 20% ของการทำงาน ไปคิดค้นหรือเรียนรู้อะไรก็ได้ แต่ก็คาดหวังให้พนักงานใช้เวลานั้นอย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยความมีวินัย แม้ไม่ได้ตามไปดูทุกฝีก้าวว่ากำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม

4. ทำให้เป็นเรื่องสนุกงานก็เครียดมากพออยู่แล้ว ดังนั้นเวลา 20% ที่ได้ไป ก็อยากให้พนักงานรู้สึกสนุก ได้ใช้เวลากับตัวเองอย่างมีคุณค่า พัฒนาตัวเอง ศึกษาเรียนรู้ และดึงศักยภาพที่มีออกมาใช้ให้เต็มที่

5. ลงทุนระยะยาว – 20% ของเวลาทำงานของพนักงานทุกคนในกูเกิ้ล ถ้าคิดเป็นเงิน ก็มหาศาลมาก แต่บริษัทมองว่านี่เป็นการลงทุนระยะยาวเพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพไว้ให้กับองค์กร ดังนั้นแม้ผลลัพธ์ระยะสั้นจะดูเหมือนไม่คุ้มค่า แต่ระยะยาวหวังผลได้แน่นอน

ลองนำมาปรับใช้ดู เผื่อเป็นประโยชน์กับตนเองและองค์กร

อย่าลืมกดติดตาม LINE OA : Leadership Hacks สำหรับข่าวสารและอาหารสมองดี

Tags:
#Leadership Hacks

Ready to start your Leadership Journey?